บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร
ด้านกลยุทธ์และนโยบาย
- อนุมัติและทบทวนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของธนาคารในภาพรวม แผนธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทาง การเงินของธนาคาร กรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework) รวมถึง นโยบายที่สำคัญและนโยบายด้านความเสี่ยงและขั้นตอนการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงของธนาคาร โดยครอบคลุมบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร รวมถึงบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดย คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ดี
- อนุมัติงบประมาณรวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)
- ปกป้องคุณค่าของธนาคารในระยะยาวซึ่งในที่นี้รวมหมายถึงแบรนด์และชื่อเสียงของธนาคาร
- พิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อกรณีที่วงเงินกู้เกินกว่าอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ หรืออำนาจดำเนินการ ที่กำหนดไว้
- พิจารณาอนุมัติเพดานความเสี่ยงอื่น ๆ และนโยบายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่กำกับ ดูแลกำหนด
- กำหนดประเด็นและตารางเวลาที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารระหว่างปี สำหรับประเด็นที่สำคัญๆ ที่ควรนำเสนอก่อนประเด็นทั่วไป เช่น กลยุทธ์ สถานะทางการเงิน ความคืบหน้าเกี่ยวกับงบประมาณและ แผนการดำเนินงาน การวางแผนเงินทุน ความเสี่ยงต่าง ๆ การประเมินผลการดำเนินงานของประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และการกำกับดูแลการดำเนินการต่าง ๆ เช่น กระบวนการพิจารณาอนุมัติผลิตภัณฑ์
- พิจารณาอนุมัติอำนาจหน้าที่หรือมอบอำนาจอนุมัติพิจารณาสินเชื่อ เพดานความเสี่ยงด้านตลาด การเข้า ครอบครองกิจการ การขายกิจการ การลงทุน หรือการรับรู้หรือการเริ่มธุรกิจใหม่
- ดูแลให้บริษัทในกลุ่มของธนาคารและบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน นำนโยบายต่าง ๆของธนาคารไปปฏิบัติ หรือไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบริษัทนั้น
ด้านการกำกับการปฏิบัติงาน
- ควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการธนาคารอันเป็นส่วนหนึ่ง ของการถ่วงดุลอำนาจเพื่อการกำกับการปฏิบัติงานที่ดี
- ดูแลให้ธนาคารบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม
- ให้มีการจัดทำนโยบายและมีกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร (Whistleblowing Policy and Procedure) ที่มีประสิทธิภาพ
- พบปะผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำเพื่อทบทวนนโยบาย สร้างแนวทางการสื่อสารและการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับเป้าหมายของธนาคาร
- ส่งเสริมความมั่นคงและแข็งแกร่งของธนาคาร เข้าใจลักษณะของกฎเกณฑ์ทางการและดำเนินการเพื่อให้ธนาคารดำรงความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานที่กำกับดูแล
- ให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายจัดการ ตลอดจนคำแนะนำในการปฏิบัติงานตามที่ได้รวบรวมจากสถานการณ์ต่าง ๆ
- ทบทวนและพิจารณาอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และวงเงินสินเชื่อแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีที่ ได้รับอนุญาตหรือต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
- ดูแลให้ธนาคารมีการเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลที่สำคัญต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นและสาธารณะ เพื่อ สนับสนุนและแสดงให้เห็นถึงการมีธรรมาภิบาลที่ดีของธนาคาร
- ดูแลและจัดการธนาคารให้มีการตรวจสอบและควบคุมที่ดีเป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของธนาคาร รวมทั้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- การพิจารณามอบอำนาจและกำกับดูแลการกระจายอำนาจในการบริหารงานหรือดำเนินการในธุรกิจ ธนาคารภายใต้สิ่งที่คณะกรรมการธนาคารได้พิจารณาอนุมัติไว้
ด้านการจัดการองค์กร
- จัดระเบียบคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
- แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อให้ความช่วยเหลือในการทำหน้าที่และให้คำปรึกษาในเรื่องที่ต้องอาศัย ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่คณะกรรมการธนาคาร
- ประเมินประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการธนาคาร รวมถึงเรื่องการเสนอชื่อและการคัดเลือกกรรมการ ธนาคาร การจัดการเรื่องข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ การแก้ไขจุดอ่อนที่มีและดำเนินการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น
- พัฒนาและรักษาระดับความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมตามธุรกิจของธนาคารที่เติบโตและมีความซับซ้อนมากขึ้น
- คัดเลือก ดูแล และปรับเปลี่ยนผู้บริหารหลักเมื่อจำเป็น โดยมั่นใจว่าธนาคารมีแผนการสืบทอดผู้บริหารที่เหมาะสม และผู้สืบทอดตำแหน่งเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมในการบริหารกิจการธนาคาร
- คัดเลือก ประเมิน และกำหนดค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารตลอดจนผู้บริหารระดับสูงที่กำหนด
- ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์และค่าตอบแทนของธนาคารมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และข้อคิดเห็นของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
- ทบทวนโครงสร้างภายในของธนาคารอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าขอบเขตความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการมีความชัดเจนทั่วทั้งองค์กร
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อย
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
- ภารกิจ คณะกรรมการตรวจสอบสนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร มีอำนาจในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ โดยคำนึงถึงความซับซ้อน ลักษณะธุรกิจ นโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงานในระยะยาว โดยครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การสอบทานการจัดทำรายงานทางการเงิน (2) การสอบทานให้ธนาคารมีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายใน (3) การพิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบประจำปี (4) การสอบทานการปฏิบัติตามเกณฑ์ (5) การพิจารณา คัดเลือก แต่งตั้งผู้สอบบัญชี (6) การพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (7) การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเบาะแส (Whistleblowers) (8) การสอบสวนพฤติการณ์อันควรสงสัยและการรายงานเหตุการณ์ทุจริต ผลประโยชน์ทับซ้อน และความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน ตลอดจนการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อกำหนดของทางการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง (9) การปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย และตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 สอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
- 2.2 สอบทานให้ธนาคารมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในก่อนนำเสนอคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล (NRCC) เพื่อเห็นชอบและเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่ออนุมัติตามลำดับ
- 2.3 ประเมินผลงานรวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน รวมถึงการตั้งดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) ของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- 2.4 พิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบประจำปี (Annual Audit Plan) ของหน่วยงานตรวจสอบ ภายในรวมถึงพิจารณาความเพียงพอของบุคลากร และงบประมาณที่ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้
- 2.5 สอบทานและอนุมัติกฎบัตรตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากล (The IIA's International Professional Practices Framework)
- 2.6 สอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของธนาคาร
- 2.7 พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของ ธนาคาร และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเสนอการเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของธนาคาร รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- 2.8 พิจารณาอนุมัติการว่าจ้างหรือการทำข้อตกลงกับผู้สอบบัญชีในภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือนอกเหนือจากงานสอบบัญชี (Audit-Related and Other Services)
- 2.9 พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร
- 2.10 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- 2.10.1 ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของธนาคาร
- 2.10.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของธนาคาร
- 2.10.3 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของธนาคาร
- 2.10.4 ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
- 2.10.5 ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- 2.10.6 จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละคน
- 2.10.7 ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
- 2.10.8 รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.11 ดำเนินการสอบสวนโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยและรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และผู้สอบบัญชีทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ดังต่อไปนี้
- 2.11.1 ผลประโยชน์ทับซ้อน
- 2.11.2 กรณีทุจริตหรือข้อบ่งชี้ว่าอาจมีการทุจริต หรือบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
- 2.11.3 การปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อกำหนดของทางการที่เกี่ยวข้อง
- 2.12 ดำเนินการตามความเหมาะสม เมื่อได้รับแจ้งในเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อันควรสงสัยจากบุคคลทั้งภายในและ/หรือภายนอกธนาคาร รวมทั้งจากผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblowers)
- 2.13 สอบทานความเหมาะสมของมาตรการและการดำเนินการแก้ไขของฝ่ายจัดการตามรายงานผลการตรวจสอบและการสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- 2.14 สอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินของบริษัทในเครือ การปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ธนาคารกำหนดขึ้น เพื่อให้บริษัทในเครือถือปฏิบัติ รวมทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในและการตรวจสอบ
- 2.15 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
- 2.16 ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่กฎหมายกำหนด
- องค์ประกอบ
- 3.1 คณะกรรมการตรวจสอบต้องมีความเป็นอิสระ มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมในธุรกิจสถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยต้องมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตาม ประกาศของคณะกรรมการตลาดทุน
- 3.2 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการธนาคาร
- 3.3 ประธานคณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งและถอดถอนโดยคณะกรรมการธนาคาร
- 3.4 ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
- 3.5 ต้องมีเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบหนึ่งคน ทำหน้าที่จัดประชุม และจดบันทึกการประชุม
- 3.6 สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตามวาระการเป็นกรรมการธนาคาร
- 3.7 สมาชิกภาพของกรรมการตรวจสอบสิ้นสุดลงโดยการ
- 3.7.1 พ้นสภาพการเป็นกรรมการธนาคาร
- 3.7.2 ลาออก
- 3.7.3 ถูกถอดถอน
- 3.8 กรรมการที่พ้นวาระการดำรงตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งให้กลับเข้ารับหน้าที่ได้อีก
- การประชุม
- 4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตรวจสอบทั้งหมด
- 4.1.2 ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธาน คณะกรรมการตรวจสอบ ให้รองประธานคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการตรวจสอบซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน เป็นการเฉพาะคราว
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการตรวจสอบ - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 กรณีสำคัญและเร่งด่วน การส่งเรื่องให้กรรมการตรวจสอบ เพื่อขอมติเวียนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ หากประธานคณะกรรมการตรวจสอบไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอต่อประธานคณะกรรมการธนาคาร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติแทน
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการตรวจสอบหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการตรวจสอบซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการตรวจสอบที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีการขอมติเวียน ต้องส่งเรื่องให้กรรมการตรวจสอบทุกคนพิจารณา และการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการตรวจสอบที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการขอมติเวียน
- 4.5 การรายงาน
จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนการ ทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุม คณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงาน ทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)
กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร
- ภารกิจ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจในการพิจารณา ทบทวนและนำเสนองบประมาณประจำปี แผนธุรกิจของธนาคาร แผนการใช้เงินทุน การติดตามผลประกอบการและผลการดำเนินงานตามสายงานธุรกิจของธนาคาร การดูแลผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม และบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดยสอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร การทบทวนและนำเสนอหรืออนุมัติการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและกลยุทธ์ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย การทบทวนและนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร การวางแผนการลงทุนในบริษัทอื่น การติดตามความคืบหน้าการบริหารแบรนด์และการสื่อสารขององค์กร รวมถึงปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 ทบทวนผลการดำเนินงานของธนาคาร ดังต่อไปนี้
- 2.1.1 ทบทวน และนำเสนองบประมาณประจำปี แผนธุรกิจของธนาคาร รวมถึงแผนการใช้เงินทุน
- 2.1.2 ติดตามผลประกอบการและผลการดำเนินงานตามสายงานธุรกิจของธนาคาร
- 2.1.3 ดูแลผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มและบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดยสอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร
- 2.2 ทบทวน และนำเสนอ หรืออนุมัติการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและกลยุทธ์ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
- 2.3 ทบทวนและนำเสนอหรืออนุมัติแผนเงินลงทุนตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
- 2.4 ทบทวน และนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร รวมถึงแผนการลงทุนในบริษัทอื่น
- 2.5 ทบทวนและนำเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
- 2.6 อนุมัติการขายหนี้กลุ่มสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL Portfolio Sale) และทรัพย์สินรอการขายแบบกลุ่ม(NPA Portfolio Sale)
- 2.7 การจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และการตัดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายออกจากบัญชีสำหรับธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
- 2.8 ติดตามความคืบหน้าการบริหารการเปลี่ยนแปลงของธนาคารซึ่งนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของธนาคารในอนาคต
- 2.9 ติดตามความคืบหน้าการบริหารแบรนด์และการสื่อสารขององค์กร
- 2.10 ทบทวนผลการดำเนินงานของคณะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEC) และให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายจัดการในประเด็นที่เร่งด่วนหรือสำคัญ ตลอดจนทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ฝ่ายจัดการเสนอ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร
- 2.11 กำกับดูแลการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของธนาคารและแผนการลงทุนด้าน IT เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบงานรองรับการให้บริการด้านดิจิทัลของธุรกิจรวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบ
- 2.12 กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า คุณภาพของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูล
- 2.13 ติดตามการควบคุมและดูแลการปฏิบัติในการดูแลความปลอดภัยของระบบและการบริหารจัดการช่องโหว่ต่อภัยคุกคามจากไซเบอร์เพื่อให้ข้อมูลมีความเชื่อถือได้และปลอดภัยเป็นไปตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดรวมถึงรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบถึงการเปิดเผยข้อมูลด้าน IT และความปลอดภัยด้านไซเบอร์
- 2.14 การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้การจัดการของคณะกรรมการบริหารและการกำกับดูแลงานคณะกรรมการชุดย่อยให้มีความชัดเจน
- 2.15 อนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ โดยเป็นไปตามเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน เรื่องอำนาจอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณประเภทต่าง ๆ
- 2.16 ดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นตามหน้าที่และความรับผิดชอบ หรือดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- องค์ประกอบ คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กรรมการธนาคารจำนวน 5 คน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร
- การประชุม
- 4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด
- 4.1.2 ประธานคณะกรรมการบริหารทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการบริหารไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานคณะกรรมการบริหารให้รองประธานคณะกรรมการบริหารเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานคณะ กรรมการบริหาร หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการบริหารซึ่งมาประชุมเลือก กรรมการบริหารคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน เป็นการเฉพาะคราว
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการบริหาร - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการบริหารเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 กรณีสำคัญและเร่งด่วน การส่งเรื่องให้กรรมการบริหารเพื่อขอมติเวียนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการบริหาร ทั้งนี้ หากประธานคณะกรรมการบริหารไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอต่อประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแทน
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการบริหารหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการบริหารซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบริหารที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีการขอมติเวียน ต้องส่งเรื่องให้กรรมการบริหารทุกคนพิจารณา และการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการบริหารที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการขอมติเวียน
- 4.5 การรายงาน
จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการบริหาร เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการบริหาร โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงานทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)
กฎบัตรคณะกรรมการสินเชื่อ
- ภารกิจ คณะกรรมการสินเชื่อมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ การแก้ไขและปรับปรุงหนี้ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับรายการการลงทุนหรือภาระผูกพันในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์และอื่น ๆ ที่เกินจากอำนาจของฝ่ายจัดการ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 พิจารณาอนุมัติเรื่องที่เกินจากอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ ดังต่อไปนี้
- 2.1.1 สินเชื่อ
- 2.1.2 การแก้ไขและปรับปรุงหนี้
- 2.1.3 การตัดจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชี
- 2.1.4 การเข้าซื้อทรัพย์สิน / ตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
- 2.1.5 การจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และการตัดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายออกจากบัญชีสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้ระดับบริหาร และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
- 2.2 ทบทวนคำขออนุมัติสินเชื่อเฉพาะเรื่องสำหรับลูกหนี้ related parties หรือกลุ่มลูกหนี้ที่เกิน SLL ก่อนนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.3 พิจารณาอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกหนี้รายที่มีวงเงินเกิน SEL Customer แต่ยังคงอยู่ภายใต้ Group SELตามที่กำหนดไว้ในอำนาจอนุมัติสินเชื่อ Corporate Lending DoA และ SEL Policy รวมถึงให้ ความเห็นชอบสำหรับคำขออนุมัติสินเชื่อลูกหนี้ที่มีวงเงินกลุ่มเกิน %Group SEL ภายใต้อำนาจอนุมัติของคณะกรรมการสินเชื่อเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.4 ทบทวนการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อของคณะกรรมการด้านสินเชื่อในระดับบริหาร (CUC/CRC1)
- 2.5 พิจารณาอนุมัติความเสี่ยงด้านสินเชื่อและความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับรายการการลงทุน หรือความผูกพันในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เกินจากอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ
- 2.6 พิจารณาให้ความเห็นชอบ account plan สำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมเกิน 5,000 ล้านบาท เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร (BoD) เพื่อทราบ
- 2.7 ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการมอบหมายหรือกฎหมายกำหนด
- องค์ประกอบ คณะกรรมการสินเชื่อประกอบด้วยกรรมการ 5 คน โดยเป็นกรรมการธนาคาร 3 คน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร 1 คน
- การประชุม
-
4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการสินเชื่อเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสินเชื่อทั้งหมด
- 4.1.2 ประธานคณะกรรมการสินเชื่อทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการสินเชื่อไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานคณะกรรมการสินเชื่อให้รองประธานคณะกรรมการสินเชื่อเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานคณะกรรมการสินเชื่อ หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสินเชื่อ ซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการสินเชื่อคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน เป็นการเฉพาะคราว
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการสินเชื่อ - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการสินเชื่อเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 กรณีสำคัญและเร่งด่วน การส่งเรื่องให้กรรมการสินเชื่อเพื่อขอมติเวียนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการสินเชื่อ ทั้งนี้ หากประธานคณะกรรมการสินเชื่อไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอต่อประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแทน
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการสินเชื่อหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการสินเชื่อซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการสินเชื่อให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการสินเชื่อที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีการขอมติเวียน ต้องส่งเรื่องให้กรรมการสินเชื่อทุกคนพิจารณา และการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการสินเชื่อที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการขอมติเวียน
- 4.5 การรายงาน
จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการสินเชื่อ
คณะกรรมการสินเชื่อเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการสินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการสินเชื่อ โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการสินเชื่อทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงานทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)
กฎบัตรคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ภารกิจ คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีอำนาจในการกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามกรอบการบริหารความเสี่ยง สอดคล้องกับกลยุทธ์และการกำกับดูแลของธนาคารโดยรวม
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 กำกับดูแลแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย
- 2.1.1 เห็นชอบหรือทบทวนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า
- เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางในการดำเนินงานของธนาคาร
- โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีมีความยืดหยุ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต
- ธนาคารมีการประเมินความพร้อม หรือระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของเทคโนโลยี สารสนเทศ รวมถึงความสามารถในการรับมือกับภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- 2.1.2 ติดตามผลการดำเนินโครงการที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนสำคัญ รวมถึงโครงการที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของธนาคาร
- 2.1.1 เห็นชอบหรือทบทวนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า
- 2.2 กำกับดูแลให้มีนโยบายและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในภาวะปกติ และในภาวะวิกฤตที่เหมาะสม โดย
- 2.2.1 สนับสนุนให้มีการจัดการโครงสร้างองค์กรที่ทำให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนตามหลักการควบคุมดูแล 3 ระดับ (three lines of defense)
- 2.2.2 ติดตามสถานะความเสี่ยง ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเด็นที่มีนัยสำคัญซึ่งครอบคลุมการแก้ไขปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 2.3 กำกับดูแลงบประมาณการลงทุนและงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์และให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- 2.4 กำกับดูแลให้มีการเสริมสร้างความรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศแก่พนักงาน
- 2.5 ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่กฎหมายกำหนด และ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- องค์ประกอบ คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกรรมการ 6 คน โดยเป็นกรรมการธนาคารซึ่งไม่ใช่ผู้บริหาร 1 คน กรรมการอิสระ 4 คน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คน
- การประชุม
- 4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
- 4.1.2 ประธานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการธนาคารซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการอิสระ หรือ กรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 ในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกคนพิจารณา
- 4.5 การรายงาน
คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเสนอรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยรายงานควรครอบคลุมถึงสถานะความเสี่ยง ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อ การตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงานทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)
กฎบัตรคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
- ภารกิจ คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลมีอำนาจในการพิจารณา กลั่นกรอง เสนอชื่อบุคคลต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง พิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ การควบคุมภายในสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมองค์กร พิจารณาทบทวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และด้านบรรษัทภิบาลให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมายและตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 ด้านสรรหา
- 2.1.1 ทบทวนและเสนอนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
โดยใช้ skill matrix ประกอบการวิเคราะห์ ให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ- (ก) กรรมการธนาคาร
- (ข) กรรมการและประธานในคณะกรรมการชุดย่อย
- (ค) ตัวแทนธนาคารในฐานะกรรมการผู้แทน ประธาน หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในกลุ่ม หรือกิจการที่ธนาคารมีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการผู้แทน
- (ง) ผู้บริหารระดับสูง
- 2.1.2 กลั่นกรอง พิจารณาบุคคลสำหรับเสนอชื่อ และนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามข้อ 2.1.1
- 2.1.3 เสนอแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- 2.1.4 ทบทวนและติดตามให้มีการนำนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และแผนงานตามข้อ 2.1.1 และข้อ 2.1.3 ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารรับทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- 2.1.1 ทบทวนและเสนอนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
- 2.2 ด้านกำหนดค่าตอบแทน
- 2.2.1 พิจารณาทบทวน นโยบาย โครงสร้าง และแนวปฏิบัติโดยรวมเกี่ยวกับค่าตอบแทนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มรวมถึงดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณะ รวมถึงสวัสดิการ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อกำหนดผลตอบแทน เงินรางวัล และเงินชดเชยกรณีการเลิกจ้าง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมติคณะกรรมการธนาคาร วัฒนธรรมเป้าหมาย กลยุทธ์และสภาพแวดล้อมการควบคุมภายใน การเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ในระยะยาว และมีความเหมาะสมเป็นธรรมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การบริหารความเสี่ยงและผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล และเทียบเคียงได้กับอัตราผลตอบแทนในตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายและให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการธนาคารตามความเหมาะสม
- 2.2.2 เสนอจำนวนเงินค่าตอบแทนและสวัสดิการของกรรมการธนาคารและกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น)
- 2.2.3 อนุมัติค่าตอบแทน สวัสดิการ ผลตอบแทนที่เป็นรางวัล หรือเงินชดเชยกรณีการเลิกจ้างของผู้บริหารระดับสูง (หรือในกรณีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ)
- 2.3 ด้านบรรษัทภิบาล
- 2.3.1 ทบทวนและเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบาย จรรยาบรรณ กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติโดยคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนรวมทั้งปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมองค์กร ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสูงสุด มีจริยธรรมตามแนวปฏิบัติที่เป็นสากล ตลอดจน ดูแล ติดตาม และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบเกี่ยวกับการดำเนินการและประสิทธิผลของการดำเนินการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- 2.3.2 เสนอขนาดและองค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยที่เหมาะสมตลอดจนบทบาท ขอบเขต อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- 2.3.3 เสนอนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะของคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อย ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ และรายงานผลให้คณะกรรมการธนาคารทราบ
- 2.3.4 ทบทวนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของธนาคารในระยะยาว โดยมีกรอบการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ ความยั่งยืนทางธุรกิจ ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนด้านสังคม และบรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
- 2.4 หน้าที่อื่นๆ
- 2.4.1 ดำเนินการเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นตามความรับผิดชอบตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.4.2 จัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลการทำงานแก่คณะกรรมการธนาคาร หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคาร ผู้ถือหุ้น และสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- 2.4.3 ทบทวนและให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคาร ในเรื่องของการไปดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาในบริษัทอื่น ๆ ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- 2.4.4. พิจารณา อนุมัติบทบาทของการเป็นกรรมการบริษัทและที่ปรึกษาในบริษัทอื่น ๆ ของผู้บริหารระดับสูง
- องค์ประกอบ ประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลต้องเป็นกรรมการอิสระและคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระหรือกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
- การประชุม
- 4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ทั้งหมด
- 4.1.2 ประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ให้รองประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล หรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน เป็นการเฉพาะคราว
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็นโดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 กรณีสำคัญและเร่งด่วน การส่งเรื่องให้กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อขอมติเวียนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ทั้งนี้ หากประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอต่อประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแทน
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลให้ถือเสียงข้างมาก ของกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลที่เข้าประชุม และมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีการขอมติเวียน ต้องส่งเรื่องให้กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลทุกคนพิจารณา และการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการขอมติเวียน
- 4.5 การรายงาน
จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงานทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)
กฎบัตรคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
- ภารกิจ คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงมีอำนาจในการกำกับดูแลด้านความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และสอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวม
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
- 2.1 นำเสนอกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework)* รวมถึง นโยบายการ บริหารความเสี่ยงโดยรวม ต่อคณะกรรมการธนาคาร โดยครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้าน เงินกองทุน ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (รวมถึงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และด้านชื่อเสียงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเสี่ยงด้านอื่นๆ
- 2.1.1 ให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการธนาคารในเรื่องนโยบายและกรอบงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ระดับความเสี่ยงที่สามารถทนได้ ( Tolerance) และกลยุทธ์ความเสี่ยง (Risk Strategy) ของธนาคารและหน่วยงานธุรกิจ รวมถึง อำนาจหรือการมอบอำนาจอนุมัติด้านเครดิต
- 2.1.2 ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการธนาคารในการอนุมัติระดับความเสี่ยง (Risk Level) และการกระจุกตัวของความเสี่ยง (Risk Concentration) ทั้งนี้ โดยอยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของคณะกรรมการธนาคาร
- 2.1.3 อนุมัตินโยบายและกรอบงานที่สำคัญเพื่อใช้กำกับการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลความเสี่ยง (Risk Governance) ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.1.4 อนุมัติการมอบอำนาจอนุมัติตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- 2.1.5 รับทราบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ/ ไม่มีนัยสำคัญ จากการทบทวน/ แก้ไขนโยบายแนวทางมาตรฐานขั้นต่ำการปฏิบัติงาน, โปรแกรมผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ และการมอบอำนาจอนุมัติ ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้ระดับบริหารเป็นรายไตรมาส/รายปีตามลำดับ
- 2.1.6 กำกับดูแลเงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์สภาพคล่อง เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- 2.1.7 กำกับดูแลความเหมาะสมของการกำหนดนโยบายและมาตรฐานในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ตามมาตรฐานสากล
- 2.1.8 กำกับดูแลเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ และความเสี่ยงด้านไซเบอร์ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการกำกับดูแลความเสี่ยงในภาพรวม
- 2.1.9 ทบทวนและรับรองทิศทางกลยุทธ์และนโยบายหลัก และกำกับดูแลการบริหารจัดการความ เสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
- 2.2 วางกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวต้องสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลได้ว่าระดับความเสี่ยงของสถาบันการเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- 2.2.1 อนุมัติเพดานความเสี่ยงส่วนเพิ่มเติม (Supplemental Risk Limit) ตามที่กำหนดไว้ในนโยบาย และกรอบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.2.2 ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร รวมถึงประสิทธิภาพของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงในแง่ของ การระบุ การวัด การรวบรวม การควบคุม และการรายงานความเสี่ยงว่าได้มีการดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง (CRO)
* ตามที่กำหนดในประกาศธปท.สนส.1/2566 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และสนส.4/2566 เรื่อง กลไกการกำกับดูแลกิจการของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
- 2.2.3 ทบทวนและติดตามความเสี่ยงทั้งหมด รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งครอบคลุม ถึงการควบคุมภายใน และการกำกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Process) รวมถึงระบบปฏิบัติงาน (System)
- 2.3 อนุมัติการแต่งตั้ง การทบทวนโครงสร้างและองค์ประกอบ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับจัดการชุดย่อยต่างๆ
- 2.4 รายงานผลการปฏิบัติในเรื่องบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ รวมทั้ง มาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อคณะกรรมการธนาคารและหารือแลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีนโยบายและกลยุทธ์ครอบคลุมความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงใหม่ๆ และการนำไปปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสอดคล้องตามนโยบายและกลยุทธ์ที่ธนาคารกำหนดไว้
- 2.5 ให้คำแนะนำในการพัฒนาและการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยผ่านทางวิธีปฏิบัติ (Procedure) การฝึกอบรมและการปฏิบัติของผู้นำ เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำของตนซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานธุรกิจของตน
- 2.6 ให้คำแนะนำในการวางโครงสร้างผลตอบแทน ให้มีความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยง และวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- 2.7 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงให้ความเห็นชอบในการพิจารณาการแต่งตั้งหรือโอนย้ายหรือถอดถอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงและมีส่วนร่วมในการประเมินการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงและรับทราบ KPI ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง
- 2.8 อนุมัติการแต่งตั้ง โยกย้าย และประเมินผลการปฏิบัติงานและประสิทธิผลของหัวหน้ากำกับการปฏิบัติงาน
- 2.9 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินดำเนินการตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งทบทวนความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของนโยบายที่กำหนดอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้สามารถครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- 2.10 ประเมินการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารสามารถติดตามการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่อาจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารในทันที
- 2.11 รับทราบรายงานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ถือหุ้นโดยธนาคารอย่างสม่ำเสมอ
- 2.12 ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมายหรือกฎหมายกำหนด
- องค์ประกอบ คณะกรรมการกำกับความเสี่ยง ประกอบด้วย กรรมการ 7 คน โดยเป็นกรรมการธนาคารซึ่งไม่ใช่ผู้บริหารหรือกรรมการอิสระ 5 คน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง
- การประชุม
- 4.1 องค์ประชุม
- 4.1.1 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการไม่ต่ำกว่า 4 คน และอย่างน้อยสองคนในนั้นต้องเป็นกรรมการธนาคาร ซึ่งไม่ใช่ผู้บริหาร หรือกรรมการอิสระ
- 4.1.2 ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้กรรมการธนาคารซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารหรือกรรมการอิสระ คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
- 4.2 กำหนดการประชุม
กำหนดการประชุมปีละ 6 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
หมายเหตุ: เรื่องที่คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงจะพิจารณาจัดประชุมเป็นกรณีเร่งด่วน ปรากฏอยู่ในภาคผนวกของแม่บทกฎบัตรคณะกรรมการธนาคาร - 4.3 รูปแบบการประชุม
- 4.3.1 การประชุมสามารถดำเนินการในรูปแบบการจัดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดการประชุม และหรือเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- 4.3.2 ในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
- 4.4 การลงมติ
- 4.4.1 กรรมการกำกับความเสี่ยงหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง เว้นแต่ กรรมการกำกับความเสี่ยงซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
- 4.4.2 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการกำกับความเสี่ยงที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง
- 4.4.3 ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
- 4.4.4 กรณีการขอมติเวียนเพื่ออนุมัติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกคนพิจารณา
- 4.5 การรายงาน
คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงเสนอรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยรายงานควรครอบคลุมถึงสถานะความเสี่ยง ความมีประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง โดยครอบคลุมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง - 4.6 เลขานุการคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง โดยรวมถึงการดูแลให้มีการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงทุกครั้ง และจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ รวมถึงนำส่งต่อหน่วยงานทางการตามที่กฎเกณฑ์กำหนดไว้ (ถ้ามี)